เมื่อเรียงลำดับตามอายุของโครงสร้างชั้นหินแต่ละที่ในหมู่เกาะเผิงหู จะต้องเริ่มด้วยกลุ่มเกาะฮวาหยู่อันเป็นชั้นหินที่มีอายุยาวนานสุด ต่อมาตามด้วยชั้นทงเหลียง ชั้นไป๋ซา กลุ่มเกาะหยูวง ชั้นดินแดงตงเว่ย ชั้นเกาะเสี่ยวเหมิน ชั้นหูซี และชั้นหินที่เกิดขึ้นใหม่ที่สุดจะเป็นชั้นทับถมและชั้นตะกอนริมทะเล
ด้วยข้อมูลการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี จะเห็นได้ว่าหมู่เกาะเผิงหูเริ่มเกิดเป็นภูมิลักษณ์ดั้งเดิมช่วงประมาณ 8 ถึง 17 ล้านปีที่แล้ว หลังผ่านการถูกกัดเซาะด้วยพลังคลื่นและลมเป็นเวลาล้าน ๆ ปี จึงกลายเป็นภูมิลักษณ์และโครงสร้างชั้นหินอันเป็นเอกลักษณ์บนเกาะเกือบร้อยแห่งที่เผิงหู
ที่หมู่เกาะเผิงหู เนื่องด้วยการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน จึงได้เกิดรอยแตกบนเปลือกโลก และทำให้หินหนืดที่มีแรงดันและอุณหภูมิสูงไหลพุ่งออกมาจากรอยแตก เมื่อธารลาวาที่ร้อนจัดเกิดปฏิกิริยากับความเย็นของน้ำทะเลและอากาศ ก็จะเย็นลงและตกผลึก จากนั้นยังได้ผ่านการเคลื่อนไหวขึ้นลงของชั้นหินหลายต่อหลายครั้ง จึงเกิดเป็นภูมิลักษณ์ที่พิเศษของเผิงหู
ในขั้นตอนที่ธารลาวาเย็นลง จะได้รับผลกระทบจากพลังงานต่าง ๆ หรือระดับการเป็นเนื้อเดียวกันที่ต่างกัน หรือปัจจัยภายในและภายนอกอื่น ๆ จนเมื่อตกผลึกกลายเป็นหินบะซอลต์แล้ว ก็แตกเป็นรูปเสาหินหลายเหลี่ยมหรือระนาบแนวนอน จึงกลายเป็นทัศนียภาพธรรมชาติที่น่าทึ่ง โดยมีกลุ่มเสาหินบะซอลต์อันสง่าสูงส่งบนเกาะถ่งผันที่อยู่ในระบบนันทนาการทะเลแห่งใต้เป็นตัวแทนสำคัญที่สุด ส่วนภูมิทัศน์หินบะซอลต์ที่อยู่บนเกาะจีซั่น เกาะติ้งโก และเกาะเสี่ยวไป๋ซาบนทะเลแห่งตะวันออกเฉียงเหนือ ก็ได้รับการระบุไว้เป็นส่วนหนึ่งของเขตสงวนธรรมชาติหินบะซอลต์แล้ว
เขตสงวนธรรมชาติหินบะซอลต์แห่งเผิงหู
เขตสงวนธรรมชาติหินบะซอลต์ทะเลแห่งใต้เผิงหู
เขตสงวนธรรมชาติหินบะซอลต์ทะเลแห่งใต้เผิงหูครอบคลุมถึงทั้งหมด 4 เกาะ โดยรวมถึงเกาะตงจี๋ เกาะซีจี๋ เกาะโถวจิน เกาะเถี่ยเจิน